วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

อัลกอริทึม tree

โครงสร้างข้อมูล (DATA STRUCTURE)
โครงสร้างหรือลักษณะเฉพาะของชุดข้อมูลที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ เกิดจากการนำชนิดข้อมูลต่างๆ มารวมกันจนกลายเป็นโครงสร้าง
 การจัดการข้อมูลในหน่วยความจำภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้มีความสัมพันธ์กันภายในกลุ่มข้อมูลให้มีรูปแบบหรือข้อกำหนดที่ชัดเจนในการกำหนดคุณสมบัติ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ภายในกลุ่มข้อมูล ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น ARRAY, LINK-LIST, STACK, QUEUE, TREE เป็นต้น
ประเภทของโครงสร้างข้อมูล
แบ่งออกเป็น ประเภท
      1. โครงสร้างข้อมูลเชิงเส้น (LINEAR DATA STRUCTURE)
       2. โครงสร้างข้อมูลไม่เชิงเส้น (NON-LINEAR DATA STRUCTURE)

    1.โครงสร้างข้อมูลเชิงเส้น เป็นรูปแบบโครงสร้างของการจัดเก็บข้อมูล ที่มีการจัดเรียงข้อมูลให้ต่อเนื่องกันและเข้าถึงข้อมูลตามลำดับ เช่น โครงสร้างข้อมูลแบบ LINKED LIST,  STACK และ QUEUE


    2.โครงสร้างข้อมูลไม่เชิงเส้น เป็นรูปแบบโครงสร้างของการจัดเก็บข้อมูล ที่มีการจัดเรียงข้อมูลไม่ต่อเนื่องกันใช้วิธีการเข้าถึงข้อมูลด้วยการระบุตำแหน่งเช่นโครงสร้างข้อมูลแบบ TREE และ GRAPH เป็นต้น

ประโยชน์ของโครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม
Jเพื่อทำหน้าที่จัดการกับข้อมูลซึ่งจะช่วยให้กระบวนการทำงานภายในระบบคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Jการจัดเก็บข้อมูลจำนวนในรูปแบบของโครงสร้างข้อมูลที่เหมาะสม จะทำให้สามารถนำข้อมูลไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ทรัพยากรที่มีได้อย่างคุ้มค่าที่สุด (ใช้พื้นที่หน่วยความจำน้อยที่สุด) อีกทั้งยังใช้เวลาในการประมวลผลน้อยที่สุดด้วย ส่งผลให้คอมพิวเตอร์ทำงานเร็วขึ้นนั่นเอง
Jการอ่านข้อมูลเพื่อใช้ในการประมวลผล คอมพิวเตอร์จะอ่านข้อมูลมาเก็บในหน่วยความจำหลัก (หน่วยความจำแรม) และในกรณีที่ข้อมูลมีขนาดมากกว่าขนาดของหน่วยความจำ คอมพิวเตอร์จะใช้โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึมเข้ามาช่วยในการจัดการกับข้อมูลเหล่านั้น เพื่อให้สามารถจัดสรรหน่วยความจำได้อย่างเหมาะสมและสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง 
Jโครงสร้างแต่ละชนิด มีความสามารถในการจัดการกับข้อมูลที่แตกต่างกัน
อัลกอริทึม (ALGORITHM)
เป็นวิธีการแสดงลำดับขั้นตอนในการทำงานหรือแก้ไขปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นการกำหนดขั้นตอนเพื่อแก้ปัญหาการจัดเรียงเอกสารในแฟ้มข้อมูล หรือการกำหนดอัลกอริทึมในการค้นหาข้อมูลในแฟ้มข้อมูลทั้งหมด เป็นต้น
Aอัลกอริทึมที่ดีควรมีคุณสมบัติ ดังนี้
                1. มีลำดับขั้นตอนทำงาน ก่อน-หลัง ชัดเจน
                2. เข้าใจง่ายและไม่กำกวม
                3. สามารถประมวลผลการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ได้
      4. การทำงานของอัลกอริทึมจะต้องสิ้นสุด หลังจากดำเนินงานตามระยะเวลาที่กำหนด
            ตัวอย่างอัลกอริทึม การต้มไข่ไก่
                                         อัลกอริทึมที่ 1                                               อัลกอริทึมที่ 2
                    
ขั้นตอนในการแก้ปัญหา
1.ศึกษาปัญหา
2.วิเคราะห์ปัญหา
    1. INPUT
    2. OUTPUT
    3.  PROCESS
3. ออกแบบอัลกอริทึม
    1. ภาษาเขียน
    2. ผังงาน
    3. รหัสเทียม
4.วิเคราะห์อัลกอริทึม
5. เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
กระบวนการทำงานของคอมพิวเตอร์
        1. ขั้นตอนการนำข้อมูลเข้า             --->        INPUT
        2. ขั้นตอนเกี่ยวกับการประมวลผล  --->        PROCESS
        3. ขั้นตอนการนำข้อมูลออก           --->        OUTPUT

          

ตัวอย่างการวิเคราะห์  : การต้มไข่ไก่
ผังงาน (FLOWCHART)
    เป็นเครื่องมือที่ใช้ออกแบบระบบงานด้วยสัญลักษณ์ ช่วยให้มีโครงสร้างของระบบงานที่เป็นลำดับขั้นตอนและเข้าใจได้ง่าย
      แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
                1. ผังงานระบบ (SYSTEM FLOWCHART)
                2. ผังงานโปรแกรม (PROGRAM FLOWCHART)
สัญลักษณ์ในการเขียนผังงาน

รหัสเทียม (PSEUDO CODE)
ใช้อธิบายการทำงานของอัลกอริธึม ทำให้ไม่ต้องเขียนอธิบายด้วย CODE
ไม่ขึ้นกับภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง อาจเป็นภาษาไทยหรือภาษาอื่นก็ได้ แต่การใช้ภาษาอังกฤษจะสะดวกที่สุด
เป็นคำสั่งที่มีลักษณะการเขียนใกล้เคียงกับภาษาอังกฤษ แต่มีโครงสร้างเกือบจะเป็นภาษาโปรแกรม
    ตัวอย่างการเขียนรหัสเทียม
      
            

อ้างอิง

photoshop

มารู้จักกับการใช้โปรแกรม Photoshop ขั้นพื้นฐาน

โปรแกรม Photoshop คืออะไร
โปรแกรม Photoshop เป็นโปรแกรมสำหรับตกแต่งภาพ ซึ่งเป็นลิขสิทธิของบริษัท Adobe ซึงบริษัท Adobe มีผลิตภัณฑ์ซอฟแวร์เกียวกับด้านกราฟิก มากมายเช่น Adobe illustrator สำหรับทำ ภาพเวกเตอร์ Adobe Premiere/After Effects สำหรับตัดต่อภาพยนต์ ฯลฯ แต่โปรแกรมที่เราจะพูดถึงวันนี้คือ
Photoshop เป็นโปรแกรมตกแต่งภาพทีได้รับความนิยมมาก เนืองจากเป็นโปรแกรมทีใช้ง่าย และรองรับ Application (Plug In) เสริมได้มากมาย
ลักษณะเด่นของ Photoshop
1. Photoshop ทำงานเป็น Layer
ลักษณะการทำงานของ Photoshop จะเหมือนการวางแผ่นใสซ้อนๆ กัน เป็นชั้นๆ โดยแต่ละแผ่นจะมีการทำงาน ต่างกัน แต่เมือรวมกันแล้วจะเป็นแค่ภาพภาพเดียว แต่ละแผ่นใส(Layer) สามารถสลับไปมาได้
2. รูปแบบคำสั่งเป็นแบบ Interface Enhancement ไอคอนและปุ่มคำสั่งต่างๆ จะอยู่ในรูปแบบของ Toolbox , Toolbar และ Dialog Box ซึ่งจัดไว้เป็นหมวดหมู่ โดยกดคลิกเพื่อใช้งาน
3. สนับสนุนการทำการบนเว็บไซต์ คือสามารถ export ได้หลายนามสกุลไฟล์
เนื่องจากไฟล์ภาพที่ใช้บนเว็บไซต์มีหลายประเภท และโปรแกรม Photoshop สามารถ สร้างภาพที่ใช้งานบนเว็บไซต์ได้หลากหลาย
เครื่อง PC สำหรับใช้งาน โปรแกรม Photoshop
– ระบบปฏิบัติการ Windows XP – Windows 10
– CPU เพนเทียม/amd 1 Ghz ขึ้นไป แรม 512 mb เป็นอย่างน้อย (ยิ่งมากยิ่งดี)
– การ์ดจอที่แสดงสีได้ระดับ 16 bit ขึ้นไป
– ควรใช้ จอภาพที่แสดงผลด้วยความละเอียด 800*600 ขึ้นไป
เริ่มต้นใช้งาน Photoshop
1. วิธีการเข้าสู่โปรแกรม Photoshop  คลิกที่ไอคอนโปรแกรมดังรูป
ps
(ดับเบิ้ลคลิก ทีไอคอนดังรูปเพื่อเข้าโปรแกรม Photoshop อาจมีรูปที่ต่างกันขึ้นอยู่กับเวอร์ชั่นโปรแกรม)
2. หน้าตาของโปรแกรม Photoshop
พื้นฐานโฟโต้ช็อป
พื้นฐานโฟโต้ช็อป
 Panel คืออะไร
panel เป็นแถบที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน ซึ่งมีหลายแบบด้วยกัน เช่น panel Layer ,History และ Navigator ซึ่ง panel ที่จำเป็นในการใช้งาน จะมีดังนี้
1. Navigator ใช้สำหรับขยายมุมมองการทำงานของพื้นที่การทำงาน
2. History ใช้สำหรับ การย้อนกลับการกระทำต่างๆ เมื่อผิดพลาด
3. Layer ใช้สำหรับการสร้างและลบ layer ต่างๆ
วิธีการเปิด/ปิด Panel
สามารถทำได้โดยไปที่เมนู Windows > แล้วเลือก Panel ที่ต้องการใช้
พื้นฐานโฟโต้ช็อป
ชนิดไฟล์ในโปรแกรม Photoshop
.psd (Photoshop File) : เป็นไฟล์พื้นฐานของโปรแกรม Photoshop สามารถเก็บบันทึกข้อมูล
คุณลักษณะต่างๆ ที่ใช้ใน Photoshop ไม่ว่าจะเป็น Layer , สี หรือ Effect ต่างๆ
.bmp (Bitmap file) : เป็นไฟล์พื้นฐานของ Windows
.gif (Graphic Interchange) : เป็นไฟล์ที่ใช้กันมากบนอินเตอร์เน็ต เพราะง่ายต่อการบีบอัดข้อมูล เพราะ มี
ขนาดเล็ก และยังเป็นไฟล์ที่ใช้ทำภาพเคลื่อนไหวสวยๆได้ด้วย
.jpg (Joint Photographic experts Group) : เป็นไฟล์นิยมใช้บนอินเตอร์เน็ตเช่นกันจะแตกต่างกันที่ไฟล์นี้ จะ
มีความละเอียดของภาพค่อนข้างชัดเจน
การเปิดไฟล์
การเรียกไฟล์ภาพหรือไฟล์ psd นำขึ้นมาใช้สามารถทำได้โดย ไปที่เมนู File > Open หรือคีย์ลัด Ctrl+O
พื้นฐานโฟโต้ช็อป
การเปิดไฟล์ก่อนหน้านี้ด้วยคำสั่ง Open Recent ไปที่เมนู File>Open Recent แล้วเลือกไฟล์ทีเคยเปิดไว้อยู่แล้วได้จากคำสั่งนี้
พื้นฐานโฟโต้ช็อป
การสร้างภาพใหม่
นอกจากการนำภาพมาใช้งานแล้วเราสามารถสร้างภาพขึ้น มาให้ด้วยพื้นที่การทำงานที่เราสร้างได้เองด้วย โดยการไปที่เมนู File>New หรือคีย์ลัด Ctrl+N
พื้นฐานโฟโต้ช็อป
รายละเอียดการกำหนดขนาดพื้นที่ใหม่
การบันทึกไฟล์
การบันทึกไฟล์ของ Photoshop มีสองแบบคือ บันทึกเพื่อนำมาแก้ไขได้ภายหลัง และบันทึกนำไปใช้งานบเว็บไซต์
1. การบันทึกงานเพื่อนำมาแก้ไขภายหลัง สามารถทำได้โดย ไปที่เมนู File>save as…
2. วิธีการเซฟนำไปใช้บนเว็บไซต์ สามารถทำได้โดย การไปที่เมนู File > Save for Web
จะปรากฏแถบข้อมูลการ Save for Web ให้เลือกตามลำดับเลยครับ
** การเลือกประเภทไฟล์ในช่อง preset นั้นขึ้นอยู่กับงานที่จะนำไปใช้
การใช้เครื่่องมือ Selection (Marquee Tool) ใช้ในการเลือกส่วนของรูปภาพเพื่อการคัดลอกหรือใส่effect ต่างๆ ให้กับส่วนที่เลือก และมักใช้กับ คำสั่ง Copy , Cut ,Delและ คำสั่ง paste
การใช้เครื่องมือ Selection (Lasso Tool)เป็นการเลือกส่วนของรูปภาพเช่นกัน แต่จะเป็นการเลือกแบบอิสระสามารถกำหนดส่วนที่เลือกได้เอง
ตัวอย่างการเลือกแบบอิสระโดยใช้เครื่องมือ Lasso Tool
การใช้เครื่องมือ Magic wand tool
เป็นการ Selection โดยอาศัยค่าสีที่ใกล้เคียงกัน โดยโปรแกรมจะเลือกสีที่มีความคล้ายกับสีที่เลือก
การใช้เครื่องมือในการระบายสีหรือแก้ไขภาพ
Healing Brush Toolใช้เกลี่ยรอยต่างๆ โดยจะทำการรักษาโทนสี ความสว่างให้ใกล้เคียงกับของเดิมอัตโนมัติ เวลาใช้ต้องกด ปุ่ม Alt ร่วมด้วย
การใช้ Brush Tool
การใช้เครื่องมือในการคัดลอก Clone Stamp Tool
เป็นการใช้เพื่อการคัดลอกบางส่วนของภาพให้เหมือนต้นฉบับเดิม ต้องกดปุ่มA lt ร่วมด้วย
การใช้ Paint Bucket Tool ใช้สำหรับการเติมสีลงวัตถุที่ต้องการ
การลบวัตถุด้วย Eraser Tool ใช้ในการลบวัตถุที่ต้องการ
เครื่องมือในการพิมพ์ตัวอักษร สามารถพิมพ์ข้อความหรือตัวอักษรได้ จาก Type Tool
เครื่องมือในการวาดรูปทรง Shape Tool
การเลือกสีโดยใช้ Eyedropper Tool
การเลือกสีโดยใช้ Eyedropper นั้นเป็นการเลือกสี ที่เราไม่ทราบเฉดสีที่แน่นอนทำให้ยากต่อการเลือกเราจึงใช้เครืองมือนีในการดูดเฉดสีทีเราต้องการจากต้นฉบับโดยใช้เครื่องมือนี้ได้
การเลือกสี Foreground และ Backgroud เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับการเลือกสีที่ต้องการ
การทำ Effect ให้กับ Layer
การเติม Effect ต่างๆให้กับ Layer และรูปภาพ เช่น การใส่เส้นขอบ การทำตัวนูน การใส่เงา ฯลฯ สามารถทำได้โดย การไปที่เมนู Layer > Layer Style > แล้วเลือก effect ที่ต้องการ
 เอาละครับนี้เป็นความรู้ขั้นพื้นฐานสำหรับการใช้งานโปรแกรมโฟโต้ช็อป ในแต่ละเวอร์ชั่นอาจจะมีการใช้งานที่แตกต่างกันนิดหน่อย แต่โดยรวมแล้ว คร้ายคลึงกันมากครับ

อ้างอิง

การวาดมังงะ




https://www.youtube.com/watch?v=sDLxYKkP5eY

RTX 2080 TI


GeForce RTX 20 Series คืออะไร?

สำหรับการ์ดจอเพื่อคอเกมตระกูลใหม่จากทาง NVIDIA จะมีการใช้ชื่อเรียกใหม่ “GeForce RTX 20 Series” ซึ่งจะมาพร้อมกับ GPU ภายใต้รหัสพัฒนาที่ชื่อว่า “NVIDIA TURING” ซึ่งจะเป็น GPU ที่เป็นสถาปัตยกรรมใหม่ มีความแตกต่างไปจาก Pascal (GTX 10 Series) อย่างสิ้นเชิง ไม่ว่าจะโครงสร้างภายในของตัว GPU, จำนวนทรานซิสเตอร์ และขนาดของกระบวนการผลิต โดย NVIDIA TURING จะมาพร้อมกับชิบประมวลผลที่มีจำนวนทรานซิสเตอร์มากถึง 18,600 ล้านตัว มีขนาดพื้นที่ของ DIE ใหญ่โตถึง